ทำความสะอาดแม่พิมพ์

คราบบนแม่พิมพ์

แม้ว่าเราจะดำเนินการผลิตอย่างถูกต้องตามที่ออกแบบกระบวนการผลิตไว้ เมื่อดำเนินการผลิตเป็นระยะเวลานาน ส่งผลให้เกิดคราบบนแม่พิมพ์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งสาเหตุสามารถแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทหลักๆดังนี้

สาเหตุจากเครื่องจักร

การหล่อลื่นกลไกเครื่องจักร – กลไกต่างๆที่เกี่ยวข้องในเครื่องจักรจำเป็นต้องมีการหล่อลื่นด้วยจารบีหรือน้ำมัน แต่ถ้าใช้สารเคมีเหล่านี้เยอะเกินไปจะทำให้เกิดการปนเปื้อนไปในแม่พิมพ์ด้วย ซึ่งสารบางชนิดทนอุณหภูมิต่ำจะไหม้และเป็นเขม่า

คอป้อน (Hopper)– คอป้อนคือส่วนที่บรรจุเม็ดพลาสติกเพื่อรอหลอมเหลวไปขึ้นรูป ในส่วนนี้ปนเปื้อนคราบต่างๆได้ง่าย เนื่องจากมีการสัมผัสกับภายนอกบ่อยๆ สาเหตุส่วนนี้มาจากการไม่ปิดฝาครอบคอป้อนทำให้ฝุ่นเข้าไปปนกับเม็ดพลาสติกและการทำความสะอาดไม่ทั่วบริเวณคอป้อนก่อนเติมเม็ดพลาสติก

สาเหตุจากแม่พิมพ์

การใช้สารถอดชิ้นงานพลาสติก – แม่พิมพ์จำเป็นต้องมีการเคลือบสารชิ้นงานเพื่อหล่อลื่นให้นำชิ้นส่วนพลาสติกที่ขึ้นรูปแล้วออกมาได้ง่าย แต่การใช้สารนี้เยอะเกินไปหรืออุณหภูมิเกินคุณสมบัติของสารสามารถก่อให้เกิดคราบบนแม่พิมพ์ได้เช่นกัน

ความชื้นตกค้างบนแม่พิมพ์ – การที่มีหยดน้ำหรือไอน้ำควบแน่นบนแม่พิมพ์ในขณะขึ้นรูปก่อให้เกิดคราบน้ำลักษณะกลมๆบนแม่พิมพ์ มีผลต่อพื้นผิวพลาสติกที่ขึ้นรูปอีกด้วย

สาเหตุจากวัตถุดิบ

วัตถุดิบปนเปื้อน – การเก็บเม็ดพลาสติกก่อนใช้งานไม่เหมาะสม ปิดคลุมบรรจุภัณฑ์ไม่มิดชิด ฝุ่นจะเข้าไปสะสมในเม็ดพลาสติก เมื่อนำไปเข้ากระบวนการขึ้นรูป ฝุ่นเหล่านี้ก็จะเข้าไปยังแม่พิมพ์เละเกิดเป็นคราบ

ความชื้นของวัตถุดิบ – การเก็บเม็ดพลาสติกในที่แห้งและเย็นไม่สิ่งสำคัญต่อคุณภาพของชิ้นงานพลาสติกที่ขึ้นรูปความชื้นที่เหมาะสมของเม็ดพลาสติกควรอยู่ที่ 0.1-0.2 % โดยน้ำหนัก ถ้าหากมีความชื้นสูงเกินไปจะทำให้เกิดคราบน้ำบนแม่พิมพ์ได้

การเตรียมวัตถุดิบ – เมื่อใช้งานเครื่องบดพลาสติกโดยไม่ทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนนำเม็ดพลาสติกชนิดใหม่มาบดต่อ เม็ดพลาสติกที่ตกค้างจะเข้าไปปนเปื้อนซึ่งพลาสติกแต่ละชนิดมีจุดหลอมเหลวไม่เท่ากัน ถ้าป้อนเม็ดพลาสติกที่ใช้อุณหภูมิหลอมเหลวสูงกว่า เม็ดที่จุดหลอมเหลวต่ำกว่าก็อาจจะก่อให้เกิดคราบได้

สาเหตุจากการดำเนินงาน

ความสะอาดโดยรอบ – บริเวณโดยรอบเครื่องฉีดพลาสติกมีฝุ่นเยอะ จากการไม่ทำความสะอาดหรือสภาพอากาศ ทำให้มีฝุ่นเข้าไปปนเปื้อนระบบได้ง่าย ดังนั้นควรทำความสะอาดพื้นที่โดยรอบเพื่อลดการปนเปื้อนในแม่พิมพ์

ปัญหาที่เกิดจากแม่พิมพ์มีคราบตกค้าง

               คราบเขม่า จารบี น้ำมัน และคราบที่กำจัดได้ยาก อย่างคราบแก๊สบนแม่พิมพ์ หรือปัจจัยภายนอกอย่าง ความชื้นและฝุ่น หากเราปล่อยไว้ก็จะมีผลต่อคุณภาพของชิ้นงานพลาสติกได้เช่น

1.จุดดำ (Black specks) – เป็นจุดดำๆสังเกตได้ด้วยตาเปล่า เกิดจากฝุ่นหรือเขม่าตกค้างบนแม่พิมพ์ก่อนขึ้นรูปพลาสติกหรือปะปนขณะหลอมเหลวพลาสติก

2. ฟองอากาศ (Bubble) – เมื่อความชื้นเข้าไปและก่อตัวเป็นหยดน้ำในแม่พิมพ์ แม้ว่าการขึ้นรูปพลาสติกอาศัยความร้อน แต่เมื่อพลาสติกที่หลอมเหลวเข้าไปปกคลุมหยดน้ำจนไม่สามารถระเหยออกได้ ทำให้เกิดเป็นรอยหยดน้ำติดไปกับชิ้นงาน

3.ปนเปื้อน (Contamination) - คราบจารบี หรือน้ำมัน อาจจะทำปฏิกิริยากับพลาสติก เกิดเป็นรอยบนพลาสติกเป็นบริเวณกว้าง เห็นได้ชัดเจนด้วยตาเปล่า แต่ก็อาจจะเกิดได้จากการปนเปื้อนในเม็ดพลาสติกก่อนหลอมเหลวอยู่แล้ว

               จากตัวอย่าง เราจะเห็นว่าพลาสติกเหล่านี้จัดเป็นชิ้นส่วนบกพร่อง (Defective product) ไม่สามารถนำไปประกอบเพื่อเป็นสินค้าจำหน่ายได้ ก่อให้เราต้องเสียต้นทุนการผลิต จากการเตรียมวัตถุดิบ (Material acquisition) ที่เราต้องซื้อวัตถุดิบมาจัดเก็บ การผลิต (Product manufacturing) ที่เราต้องใช้วัตถุดิบ พลังงานมาใช้ประกอบการขึ้นรูปพลาสติก และการกำจัด (Product disposal) ซึ่งยังมีต้นทุนในการกำจัดถึงแม้ต้นทุนส่วนนี้จะไม่มาก แต่ก็เป็นสิ่งไม่จำเป็นที่ต้องแบกรับต้นทุนในส่วนนี้

วิธีกำจัดคราบบนแม่พิมพ์

การกำจัดคราบบนแม่พิมพ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

  1. การใช้น้ำแข็งแห้ง – อาศัยการพ่นน้ำแข็งแห้งทำจากคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) แรงดันสูงไปบริเวณแม่พิมพ์การกระทำลักษณะเดียวกับเครื่องฉีดน้ำแรงดันสูง โดยไม่ทำให้แม่พิมพ์เกิดความเสียหาย
  2. การใช้สารเคมี – ใช้สารเคมีทั่วไปเช็ดแม่พิมพ์ แต่ก็อาจจะจะทำให้มีความชื้นหรือสารตกค้างบนแม่พิมพ์ ดังนั้นควรผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแม่พิมพ์โดยเฉพาะ (Mold cleaner) ซึ่งสามารถกำจัดคราบได้อย่างทั่วถึง และยังไล่ความชื้นออกจากแม่พิมพ์ได้อีกด้วย

สเปรย์ทำความสะอาดแม่พิมพ์บินสัน (BINSON Mold cleaner)

               ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดแม่พิมพ์ของ BINSON สามารถทำความสะอาดแม่พิมพ์ได้อย่างหมดจด ไม่ว่าจะเป็นคราบเขม่า จารบี น้ำมัน หรือคราบแก๊ส ที่ฝังลึกบนแม่พิมพ์ พร้อมไล่ความชื้นไปในคราวเดียวกัน โดยไม่ทิ้งคราบตกค้าง ไม่ผสมคลอรีนหรือสารกัดกร่อน สามารถนำไปใช้ประกอบการขึ้นรูปพลาสติก ชิ้นส่วนรถยนต์ ตามข้อกำหนด RoHS เรื่องข้อกำหนดการใช้สารที่เป็นอันตรายในอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าจาก SGS และชิ้นส่วนที่สัมผัสอาหาร อย่างชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าและบรรจุภัณฑ์อาหาร ได้อย่างปลอดภัย ไม่มีสารปนเปื้อนไปกับพลาสติก ตามประกาศกระทรวงสาธารณะสุข ฉบับ 435 เรื่อง กําหนดคุณภาพหรือมาตรฐานของภาชนะบรรจุที่ทำจากพลาสติก ทดสอบโดย BUREAU VERITAS AQ Labs