สนิมแม่พิมพ์
สนิมเกิดจากอะไร
แม่พิมพ์ฉีดพลาสติกทำมาจากเหล็กและเกิดสนิมได้ง่ายเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อม โดยโลหะจะทำปฏิกิริยากับอากาศซึ่งมีออกซิเจนเป็นส่วนประกอบและมีส่วนประกอบอื่นๆ เช่น ความชื้นความเค็ม (อากาศบริเวณใกล้เคียงกับทะเล) หรือไอสารเคมีอื่นๆที่เกียวข้อง ทำหน้าที่เร่งปฏิกิริยาให้เกิดสนิมได้เร็วยิ่งขึ้น เกิดเป็นคราบสีน้ำตาลแดง ซึ่งเป็นสารประกอบออกไซด์ คือ hydrous iron(III) oxides (Fe2O3·nH2O) and iron(III) oxide-hydroxide (FeO(OH), Fe(OH)3)
อย่างไรก็ตามสนิมบนแม่พิมพ์ก็ยังเกิดจากสาเหตุอื่นๆในกระบวนการผลิตได้อีกด้วย เช่น
- การใช้อุณหภูมิการผลิตสูงเกินไป – การใช้อุณหภูมิที่สูงในการหลอมเหลวเพื่อขึ้นรูปพลาสติกจะผลิตแก๊สที่มีฤทธิ์กัดกร่อนออกมา ทำให้ชิ้นส่วนโลหะไม่เพียงเฉพาะแม่พิมพ์เกิดการผุกร่อนและเป็นสนิมได้ เพราะแก๊สเหล่านี้สามารถลอยไปในอากาศและสัมผัสพื้นผิวอื่นง่าย
- ความเสื่อมสภาพของแม่พิมพ์ – กระบวนการผลิตดำเนินการแบบต่อเนื่อง เป็นเรื่องปกติที่แม่พิมพ์เกิดการเสื่อมสภาพเมื่อใช้ไปเป็นระยะเวลานาน แม่พิมพ์จะเกิดเป็นช่องว่างเล็กๆ ที่อาจจะสังเกตได้ยากด้วยตาเปล่า ช่องว่างเล็กๆเหล่านี้ เป็นแหล่งเกิดและสะสมสนิมได้ง่าย
- ระบบหล่อเย็น – การหล่อเย็นแม่พิมพ์ด้วยน้ำที่อุณหภูมิต่ำกว่าจุดน้ำค้าง (dew point) จะทำให้ไอน้ำในอากาศเกิดการควบแน่น เกิดน้ำบนพื้นผิวแม่พิมพ์และเกิดเป็นสนิมในที่สุด
ปัญหาจากแม่พิมพ์ขึ้นสนิม
ปัญหาสนิมบนแม่พิมพ์ฉีดพลาสติก เป็นปัญหาต่อกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก ส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ความสวยงามความถูกต้องของชิ้นงาน นอกจากนี้สนิมยังทำให้แม่พิมพ์เกิดความเสียหายในระยะยาว โดยสนิมจะกินเนื้อโลหะ ทำให้แม่พิมพ์เกิดความไม่ถูกต้องในการใช้ขึ้นรูปพลาสติก สนิมยังส่งผลต่อกลไกการผลิตเกิดการฝืดและขัดข้องในระบบและเกิดความร้อนขึ้นได้
วิธีกำจัดและป้องกันสนิม
เมื่อแม่พิมพ์เกิดสนิม เราจำเป็นต้องกำจัดสนิมก่อนการใช้งานเพื่อคุณภาพของพลาสติกที่ได้วิธีการกำจัดสนิมทั่วไปที่นิยมใช้มีดังนี้
- ขัดทั่วไปหรือใช้ครีมขัดโลหะช่วยขัด – ใช้แปรงขัดที่ทำจากอะลูมิเนียมเพื่อขัดสนิมบริเวณพื้นผิวออก แต่ต้องระมัดระวังไม่ขัดแรงจนทำให้พื้นผิวเป็นรอย การใช้ครีมขัดโลหะแล้วเช็ดด้วยผ้าเป็นวิธีหนึ่งที่สามารถกำจัดสนิมได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องออกแรงมาก และลดโอกาสที่พื้นผิวเป็นรอยได้อีกด้วย
- แช่ด้วยสารเคมีเช่น กรดซิตริก น้ำส้มสายชู เบกกิ้งโซดาหรือ สารเคมีอื่นๆ ที่ใช้สำหรับกำจัดสนิมโดยเฉพาะ – วิธีใช้เพียงแค่ผสมสารเคมีกับน้ำแล้วแช่ทิ้งไว้เพื่อให้ทำปฏิกิริยาให้สนิมหลุดออกจากพื้นผิว โดยไม่ต้องใช้แรงขัดใดๆ
- ใช้เครื่องล้างอัลตร้าโซนิค (Ultrasonic cleaning) อาศัยคลื่นความถี่สูงที่ถูกแปลงจากพลังงานไฟฟ้าโดยทรานสดิวเซอร์ (Transducer) ผ่านของเหลวเพื่อให้เกิดเป็นฟองอากาศ(Cavitation) ดันสิ่งสกปรกออกจากพื้นผิววัตถุ เหมาะคราบสนิมที่ติดแน่นมากและถูกทิ้งไว้เป็นเวลานานจนยากที่จะขัดออกหรือแช่ด้วยสารเคมีหรือแม่พิมพ์ที่มีความละเอียดซับซ้อน
แต่วิธีที่ดีที่สุดคือ การป้องกันไม่ให้เกิดสนิม เพื่อให้ประหยัดต้นทุนจากเวลาการทำงาน ชิ้นงานที่ไม่ตรงตามคุณสมบัติและดำเนินการผลิตได้อย่างราบรื่น เป็นการยืดอายุการใช้งานของแม่พิมพ์ให้นานขึ้นอีกด้วย
การจัดเก็บแม่พิมพ์ให้ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสามารถช่วยลดโอกาสการเกิดสนิมได้ แต่ทำได้ยากในบางพื้นที่ๆมีอากาศชื้นหรือใกล้ทะเล หรืออีกวิธีคือเลือกใช้เม็ดพลาสติกที่มีฤทธิ์กัดกร่อนต่ำ เช่น Polycarbonate(PC), Polyvinyl chloride (PVC), Polyoxymethylene (POM), Poly (ethylene-vinyl acetate) (PEVA) ซึ่งเราก็อาจจะเปลี่ยนไม่ได้เนื่องจากคุณสมบัติของพลาสติกที่ต้องการหรือไม่คุ้มทุน ดังนั้นวิธีที่แนะนำคือ การใช้สารป้องกันสนิม และจัดเก็บแม่พิมพ์
สเปรย์ป้องกันสนิมบินสัน (BINSON Rust Inhibitor)
การใช้สเปรย์ป้องกันสนิมแม่พิมพ์ ช่วยประหยัดเวลาในการเคลือบแม่พิมพ์ กว่าการเช็ดด้วยผ้า และยังปลอดภัยกับผู้ใช้งานที่ไม่จำเป็นต้องสัมผัสสารเคมีโดยตรง เหมาะกับผู้ที่ต้องทำงานเป็นระยะเวลานาน สเปรย์ป้องกันสนิมแม่พิมพ์บินสัน (BINSON) สามารถเคลือบพื้นผิวแม่พิมพ์ได้ทั่วทุกบริเวณแม้แต่ช่องเล็กๆที่เกิดจากการกัดกร่อนหรือแม่พิมพ์ที่มีรายละเอียดมาก ด้วยส่วนผสมพิเศษทำให้น้ำยาเคลือบได้สม่ำเสมอเป็นชั้นฟิล์มบางๆ (Thin-flim) และยังมีส่วนผสมป้องกันการกัดกร่อน เหมาะสำหรับการใช้งานในพื้นที่ใกล้ทะเล เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมปราศจากโลหะหนัก และสาร CFC